การจำนองกับการขายฝาก เป็นการดำเนินการทางนิติกรรมที่มีกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อความปลอดภัยของผู้ทำสัญญาทั้งสองฝ่าย ระหว่างผู้รับจำนองขายฝากกับผู้จำนองและขายฝาก บทความนี้จะมากพูดเปรียบเทียบเงื่อนไขและรายละเอียดของสัญญาทั้งสองแบบว่าให้ทุกคนได้รู้จัก 

รับจำนองขายฝาก มีลักษณะการดำเนินงานอย่างไร 

การจำนองและขายฝากมีการดำเนินงานในลักษณะแตกต่างกันซึ่งผู้รับจำนองขายฝากเป็นผู้ทำสัญญาให้ โดยผู้ขายฝากหรือจำนองต้องนำทรัพย์สินของตนมาเป็นหลักประกันเพื่อแลกกับเงินก้อนหนึ่ง เหมาะกับคนที่ต้องการใช้เงินแต่มีไม่พอ ต้องการกู้ยืม ในการจำนองและขายฝากนั้น ทรัพย์สินที่นำมาใช้เป็นหลักประกันมีได้ทั้งอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ ตัวอย่างเช่น บ้าน รถ ที่ดิน คอนโด เรือกำปั่น ส่วนวงเงินที่จะได้เมื่อนำมาจำนองขายฝากก็จะเป็นไปตามกฎหมาย สามารถไถ่ถอนคืนจากผู้รับจำนำขายฝากได้เมื่อมีเงินมาใช้หนี้ได้ตามระยะเวลาที่กำหนดครบทุกจำนวน  

เปรียบเทียบการฝากขายและจำนอง มีอะไรบ้างที่ต่างกัน 

ข้อแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดของรูปแบบนิติกรรมฝากขายและจำนองนั้น จะดูจากรายละเอียดเงื่อนไขสัญญาระหว่างผู้รับจำนองขายฝากกับผู้ฝากขายและจำนอง โดยสามารถกล่าวได้ดังต่อไปนี้ 

  • การฝากขาย 
  • หลังจากที่มีการส่งมอบทั้งทรัพย์สินและกรรมสิทธิ์แก่ผู้ซื้อฝาก ผู้ฝากขายไม่มีสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นจนกว่าจะสามารถไถ่ถอนได้ด้วยเงินที่ต้องนำมาใช้หนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ต้องไม่เกินกว่า 3 ปี แต่หากเป็นอสังหาริมทรัพย์จะไม่มากไปกว่า 10 ปี 
  • เมื่อถึงกำหนดไถ่ทรัพย์คืนแล้วผู้ขายไม่สามารถนำเงินมาไถ่ถอนได้ ทรัพย์สินนั้นก็จะกลายเป็นของผู้ซื้อฝาก 
  • ค่าธรรมเนียมการขายฝากจะคิดเป็น 2 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบราคาประเมิน  
  • วงเงินที่ได้เมื่อเทียบราคาประเมินจะอยู่ที่ 40-70 เปอร์เซ็นต์โดยประมาณ 
  • ภาษีธุรกิจเฉพาะคิดเป็น 3.3 เปอร์เซ็นต์ อากรแสตมป์ 0.5 เปอร์เซ็นต์  
  • ภาษีเงินได้จะหัก ณ ที่จ่าย 
  • การจำนอง 
  • ผู้จำนองไม่ต้องมอบทั้งกรรมสิทธิ์และทรัพย์สินกับผู้จำนอง มีสิทธิ์ใช้สินทรัพย์ของตนเหมือนเดิม 
  • ไม่มีเวลากำหนดว่าการจำนองสิ้นสุดลงตอนไหน 
  • เมื่อผู้จำนองจ่ายหนี้ให้ผู้รับจำนองครบก็ถือว่าการจำนองสิ้นสุด 
  • ถ้าผู้จำนองจ่ายหนี้ไม่หมด ต้องจ่ายให้หมด และถ้าไม่มีการชำระ ก็ต้องถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย 
  • ส่วนใหญ่วงเงินที่ได้จากการจำนองเมื่อเทียบราคาประเมินจะอยู่ที่ 10-30 เปอร์เซ็นต์โดยประมาณ 
  • ค่าธรรมเนียมคิดเป็น 1 เปอร์เซ็นต์ และวงเงินมากสุดไม่เกินกว่า 200,000  
  • ค่าอากรแสตมป์จะคิดตามข้อตกลงการเบิกเงินกับบัญชีธนาคาร 

จากบทความเป็นข้อเปรียบเทียบของการจำนองและขายฝากว่าต่างกันอย่างไรบ้าง ซึ่งแม้รูปแบบนิติกรรมมีความคล้ายกัน แต่สัญญาระหว่างผู้ รับจำนองขายฝาก มีรายละเอียดที่ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับความต้องการแต่ละคนว่าจะเลือกขายฝากหรือจำนอง