ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ารางเดินสายไฟ เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวคุณมากกว่าที่คิด! แถมยังเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญมาก ๆ เพราะนอกจากจะช่วยจัดระเบียบได้แล้ว ยังป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากไฟฟ้า เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร ไฟรั่ว ไฟช็อต ที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอัคคีภัย ดังนั้นการติดตั้งรางเดินสายไฟจึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ทุกควรไม่ควรมองข้าม 

รางเดินสายไฟมีกี่ประเภท อะไรบ้าง? 

สำหรับรางเดินสายไฟหลัก ๆ มีทั้งหมด 3 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทมีรายละเอียดดังนี้ 

1. รางเคเบิ้ลเทรย์แบบระบายอากาศ 

เป็นรางเดินสายไฟที่มีช่องระบายอากาศ ช่วยให้การติดตั้งและการดูแลรักษาทำได้ง่าย สามารถติดตั้งได้ทั้งโรงงานและอาคารทั่วไป และสามารถเดินสายไฟได้เป็นจำนวนมาก  

การติดตั้งรางเคเบิ้ลเทรย์ 

  • เลือกใช้รางที่มีความแข็งแรง จับยึดตามความเหมาะสม 
  • สถานที่ที่ต้องการติดรางไฟเคเบิ้ลเทรย์ต้องมีที่ว่างเพียงพอต่อการตรวจสอบ และดูแลรักษา 
  • ตัวรางต้องมีความต่อเนื่องตลอดความยาวทางกลและทางไฟฟ้า 
  • ห้ามใช้รางเคเบิ้ลเทรย์เป็นสายดิน และสายไฟที่ใช้จำเป็นจะต้องมีคุณสมบัติต้านเปลวเพลิง 

2. รางวายเวย์ 

เป็นรางเดินสายไฟแบบปิดมิดชิด ช่วยป้องกันฝุ่นละอองและสัตว์ขนาดเล็กได้เป็นอย่างดี สามารถใช้ได้ทั้งโรงงานและอาคารบ้านเรือน สำหรับกลางแจ้งก็ใช้งานได้ แต่จะต้องเป็นชนิดกันฝน 

การติดตั้งรางวายเวย์ 

  • เลือกใช้รางที่มีความแข็งแรง จับยึดทุกระยะไม่เกิน 3 เมตร ในกรณีที่ต้องการติดตั้งในแนวตั้ง แนะนำให้เพิ่มระยะจับยึดเป็น 4.5 เมตร 
  • ห้ามต่อรางตรงจุดที่เป็นผนังหรือพื้น เนื่องจากยากต่อการตรวจสอบและบำรุงรักษา 
  • ห้ามใช้รางวายเวย์เป็นสายดิน แต่รางจะต้องมีความต่อเนื่องทางไฟฟ้าตลอดความยาว 
  • ในรางวายเวย์สามารถเดินสายไฟได้ทุกชนิด แต่ควรระวังพื้นที่หน้าตัดของสาย รวมฉนวนทุกเส้นจะต้องไม่เกิน 20% ของพื้นที่หน้าตัดราง 

3. รางเคเบิ้ลแลดเลอร์ 

เป็นรางเดินสายไฟแบบขั้นบันได การติดตั้งสายไฟฟ้าและการดูแลรักษาเป็นไปได้ง่าย ส่วนมากนิยมใช้แบบชุบกัลวาไนซ์ เหมาะสำหรับการติดตั้งภายนอกอาคาร เนื่องจากทนแดด ทนฝน และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน 

การติดตั้งรางเคเบิ้ลแลดเดอร์ 

  • เลือกใช้รางที่มีความแข็งแรง จับยึดตามความเหมาะสม 
  • สถานที่ติดตั้งต้องมีที่ว่างเพียงพอต่อการตรวจสอบและบำรุงรักษา 
  • รางเคเบิ้ลแลดเดอร์ต้องมีความต่อเนื่องตลอดความยาว แต่ห้ามใช้รางเป็นสายดินเด็ดขาด 
  • การติดตั้งภายในตัวอาคารต้องใช้สายไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติต้านเปลวเพลิง 

ในการเลือกใช้รางเดินสายไฟและสายไฟในแต่ละครั้ง ให้คำนึงถึงความปลอดภัย ความสะดวกในการตรวจสอบและบำรุงรักษาเป็นที่ตั้ง รองลงมาก็ค่อยคำนึงถึงค่าใช้จ่าย แต่เพื่อความปลอดภัยขั้นสูงสุด คือ จะต้องสอดคล้องตามข้อกำหนดของมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย นอกจากนี้ยังจะต้องใช้รางไฟฟ้าที่มีคุณภาพ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายที่อาจจะตามมา